บทความไม่ได้ ก็อปปี้มาอธิบายท่าน มีแต่เนื้อหาสำคัญ ของเราเองล้วนๆ

งานพิมพ์กระดาษ บนโลกที่พบเห็นได้ทุกวันนี้ มาจากโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ทเกิน 75% อุตสาหกรรมการพิมพ์

ออฟเซ็ท เป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด พิมพ์เยอะๆได้จำนวนถูกและได้มาตรฐานความสวยงามที่สุด

โรงพิมพ์เราเป็นระบบอุตสาหกรรมออฟเซ็ทเครื่องจักรทุกอย่างได้มาตรฐานอุตสาหกรรมการพิมพ์

เรื่องระยะเวลาการผลิต

สำหรับลูกค้าที่ไม่มีประสบการณ์อย่างยาวนาน ด้านงานพิมพ์


ทางโรงพิมพ์อยากให้อ่านบทความด้านล่างจนจบทุกๆคน ทั้งเรื่องกระดาษ สี ไฟล์งาน การเคลือบ การเข้าเล่ม ฯลฯ

และลูกค้าจะเข้าใจว่า" งานพิมพ์ ต้องใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ และความระมัดระวังอย่างสูง


งานพิมพ์ที่แท้จริงต้องใช้เวลาในการผลิต ไม่สามารถ ปริ้นท์ๆ ได้เลย เหมือนเครื่องปริ้นท์

งานพิมพ์ต้องใช้เวลาศึกษาศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอเพราะรายละเอียดเยอะมาก เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ปัญหาที่พบได้บ่อย

ลูกค้าไม่เผื่อระยะเวลาในการผลิต ก่อนผลิต

ลูกค้าคิดว่าเอาไฟล์ไปปริ้นท์ๆ ได้เลยเหมือนเครื่องปริ้นท์

ทำไมต้องมีอะไรยุ่งยากซับซ้อน

งานด่วน ทำไปเลยไม่ได้หรอ

ทำไมต้องใช้เวลาขนาดนี้

ทำไมเวลามีปัญหาต้องเลื่อนระยะเวลา

คำแนะนำ

โทรมาปรึกษากับแผนกธุรการและแผนกกราฟฟิค

ก่อนผลิต ส่งไฟล์มาให้เราพิจารณาก่อนทุกครั้งสำหรับ

งานชิ้นใหญ่ หรือชิ้นเล็กก็ตาม หรือถ้าดีให้นำตัวอย่าง

เข้ามาที่โรงพิมพ์จะแม่นยำกว่า

เรื่องกระดาษ

1.1 มาตรฐานกระดาษ

ลูกค้า 97% ขึ้นไปใช้กระดาษมาตรฐาน ที่เหมาะกับงานพิมพ์ในประเทศไทย เช่นกระดาษ อาร์ตมัน อาร์ตด้าน

อาร์ตการ์ด กระดาษถนอมสายตา กล่องแป้งหลังเทา กล่องแป้งหลังขาว


โรงพิมพ์เรามีสต็อกกระดาษ ที่ครอบคลุมงานพิมพ์ออฟเซ็ทที่ใช้กันในประเทศไทยกว่า 90%

เพราะฉะนั้นจึงวางใจได้ว่าหากคุณสั่งกระดาษมาตรฐาน เรามีพร้อมให้คุณ


การใช้กระดาษของโรงพิมพ์ ต้องสั่งทีละจำนวนมากไม่สามารถสั่งได้ทีละใบ หากลูกค้าต้องการกระดาษพิเศษ

จะทำให้งานล่าช้า และลูกค้าควรเตรียมเผื่อเวลาให้งานด้วย

1.2 กระดาษพิเศษ

"กระดาษบนโลกนี้มีเกินล้านชนิด" บางชนิดหายากแตกต่างกันไป บางชนิดต้องนำเข้ารอหลายเดือน เพราะฉะนั้น

การที่ลูกค้าบอกแค่ประเภทกระดาษคร่าวๆ ทางโรงพิมพ์ไม่สามารถหากระดาษได้ตรงสเป็คที่ดีที่สุด

ถ้าลูกค้าต้องการกระดาษแปลกๆ ต้องนำตัวอย่างมาที่โรงพิมพ์ และบางชนิดอาจต้องรอเป็นเดือน

กระดาษไม่สามารถพิมพ์ติดได้ทุกชนิด บางชนิด ออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรม และการใช้งานอย่างอื่น

ลูกค้าต้องเข้าใจว่าหากลูกค้าต้องการกระดาษนอกเหนือจากมาตรฐานงานพิมพ์จะต้องใช้เวลา

1.3 งานเก่ากระดาษแกรมเดียวกัน แต่ทำไมแตกต่างกัน

ข้อนี้ โอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และความแตกต่างน้อยมาก สำหรับลูกค้าที่ไม่เข้าใจจริงๆ

กระดาษเป็นวัตถุดิบที่หมดบ่อยมากบางชนิดหมดเป็นเดือน สองเดือน สามเดือน บางชนิดเลิกผลิตแล้ว

เมื่อกระดาษหมด โรงพิมพ์จำเป็นต้องสั่งกระดาษอีกยี่ห้อหนึ่งที่แกรมเดียวกัน ใกล้เคียงกันมาใช้เพื่อมาทดแทน

จึงอยากให้ลูกค้าเข้าใจว่างานพิมพ์ไม่สามารถสั่งทุกอย่างได้อย่างที่ต้องการ และยังมีกรณีอื่นๆอีก เช่น

งานพิมพ์เก่าๆกระดาษก็จะเปลี่ยนสี งานที่เคลือบแล้วกระดาษก็จะเปลี่ยนสี

เรื่องการออกแบบ

โรงพิมพ์เรามีพนักงานออกแบบผู้เชี่ยวชาญประจำกว่า 10 คน สำหรับงานทั่วไป และ มีนักออกแบบสำหรับงานพิเศษ

ซึ่งสามารดูแลงานออกแบบให้ลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบ เราไม่ได้คิดค่าออกแบบเพื่อเก็งกำไร หรือชาร์ตลูกค้า

แต่เพื่อเป็นการ support ลูกค้าเท่านั้น

หากเป็นไปได้ โรงพิมพ์อยากให้ลูกค้าจัดการเรื่องแบบเอง ลูกค้าจะสามารถประสานงานได้ละเอียดกว่าโรงพิมพ์

(สำหรับลูกค้าที่ซีเรียสจริงๆ) โรงงานเราเน้นเรื่องงานพิมพ์ไม่ได้เน้นเรื่องงานออกแบบ สาเหตุเพราะว่าพอมีปัญหากัน

เรื่องแบบแล้วปัญหาก็จะไปถึงงานพิมพ์ด้วย ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยมาก

การออกแบบของโรงพิมพ ไม่ถึงขนาดเอเจนซี่ ซึ่งงานเอเจนซี่ ที่มีราคาค่าออกแบบแพง เป็นเรื่องปกติ สตาร์ท

3,000 บาทขึ้นไป ต่องานเล็ก ๆ 1 ชิ้น จะเห็นได้ว่าเราทำราคาถูกกว่าหลายเท่า เราไม่ได้คิดกำไร และลูกค้าทุก ๆ คน

ต้องเข้าใจว่าราคางานที่ถูกกว่า จะเทียบกับงานที่แพงกว่าไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทางโรงงานจะทำงานให้ไม่ดี

และสำหรับงานออกแบบที่ราคาแพง คล้ายเอเจนซี่ จึงจะเพิ่มคุณภาพไปตามลำดับจึงอยากให้ลูกค้าช่วยความร่วมมือ

ด้านการเตรียมงาน ระยะเวลาการทำงาน และการแก้ไขงานที่ไม่บ่อยเกินไป

งานออกแบบเป็นเรื่องที่สื่อสารกันได้ยาก เพราะต่างคนต่างความชอบกัน จึงต้องมีสื่อกลาง เพื่อที่จะสื่อสารกัน

ได้อย่าง ง่ายดาย รวดเร็ว และถูกต้อง

ฉะนั้น ลูกค้าที่ต้องการออกแบบกับเรารบกวนให้ท่านเตรียมสิ่งนี้ด้วย

1. ดีไซน์ใกล้เคียงที่ท่านต้องการ (การหาดีไซน์ใกล้เคียงไม่ได้หมายความว่า copy แบบ เพราะงานออกแบบทุกงาน

ตามหลักการดีไซน์ต้องมี inspiration(แรงดึงดูดใจ) และ concept)

2. การจัดวางหน้ากระดาษที่ท่านต้องการ

3. รูปภาพอย่างครบถ้วน

4. รายละเอียด ตัวหนังสือ เป็นไฟล์ word notepad pdf ai

5. โทนสีที่ท่านต้องการ

เรื่องไฟล์งาน

ไฟล์งานของลูกค้า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะคิดว่าใช้พิมพ์ได้เลย แต่จากสถิติจริง 97% จากลุกค้าทั้งหมด โรงพิมพ์

ต้องนำไฟล์มาแก้ไขให้เหมาะกับการผลิตเพราะใช้ไม่ได้ งานชิดขอบจนเกินไป ทำสีผิดโหมด ฟอนต์ไม่ได้ฝัง

รูปไม่ได้ฝัง 100% จากลูกค้าทั้งหมด โรงพิมพ์ต้องเอาไฟล์มาเลย์เพื่อลงเพลท อาจเกิดความผิดพลาดได้

" ไฟล์ที่แนะนำในการส่งพิมพ์ .jpg .ai .tif .pdf .psd "

ปัญหาที่พบได้บ่อย

1.ไฟล์ไม่ชัด หรือบางรูปไม่ชัด

-ให้เช็คไฟล์ให้เรียบร้อยก่อนพิมพ์

2. วางงานชิดขอบ

- มาตรฐานงานพิมพ์ จุดสำคัญของงานพิมพ์ เช่นตัวหนังสือ หน้าคน รูปภาพ ต้องห่างจากขอบงานอย่างน้อย 0.7-1

เซ็นติเมตร เวลาลูกค้าสั่งงานพิมพ์ โรงพิมพ์ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นใบๆ เล็กๆ


ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้าสั่งโบรชัวร์ขนาด a4 กระดาษที่โรงพิมพ์ใช้พิมพ์ จะใหญ่กว่า a4 4-8 เท่า

แล้วค่อยมาตัดรอบด้าน ตัดทีเดียว 1000-2500 ใบ ไม่ได้ตัดทีละใบ จึงจำเป็นต้องเผื่องานเข้ามาข้างใน

- ให้ลูกค้า เผื่องานรอบด้านห่างๆ วางชิดขอบไม่ได้ หรือศึกษาจาก link นี้ http://www.youtube.com/watch?v=-

VnPPKyaZA8

3. ทำสีผิดโหมด

- ต้องเป็น cmyk ทุกครั้ง ทั้งไฟล์งาน และรูปที่เรา ดึง link มา

4. ฟ้อนท์ไม่ได้ฝัง ไม่ได้แนบมา

- ตรวจเช็คให้เรียบร้อย หรือศึกษาจาก link นี้ http://www.youtube.com/watch?v=-D3X1_g1Zt4


5. รุปไม่ได้ฝัง ไม่ได้แนบมา

- ตอน save ไฟล์ ใน illustrator ให้ติ๊กช่อง Include Linked Files.


6. ส่งไฟล์งาน นามสกุลที่โรงพิมพ์แนะนำมาแล้ว ทำไมใช้ไม่ได้

- การทำไฟล์


7. เอฟเฟ็คมีปัญหา

- ลูกค้าต้องมีความเข้าใจในโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด

คำแนะนำ

1. ลูกค้าที่ทำแบบ ควรมีประสบการณ์ด้านงานพิมพ์อย่างสูงเคยทำงานโรงพิมพ์มาก่อน


2. ควรศึกษาคำแนะนำที่โรงพิมพ์แนะนำก่อนส่งไฟล์งาน

-** หากไฟล์งานไหน มีการแก้ไขเยอะๆ ทางโรงพิมพ์ต้องขอเก็บค่าใช้จ่ายตามหน้างาน

เนื่องจากเราทำงานที่ถูก และเน้นคุณภาพจริง **-

เรื่องปรู๊ฟ ทำไมต้องคอนเฟริ์ม

ปรู๊ฟคือตัวอย่างงานก่อนที่จะออกไปถึงมือลูกค้า ให้ลูกค้าคอนเฟริ์มงานก่อนที่จะผลิตจริง

สิ่งที่ลูกค้าต้องทำการตรวจสอบ เนื้อหาข้อความตัวสะกด การพับ การเข้าเล่ม การเรียงหน้า ความคมชัดของรูปภาพ

เอฟเฟ็คต่างๆ ระยะตัดตก สำหรับการตัดเจียน อย่างละเอียดเพื่อป้องกันความผิดพลาด เนื่องจากการเตรียมไฟล์งาน

อาจจะต้องมีการขยับหรือแก้ไขอาร์ตเวิร์คในบางส่วนตามความเหมาะสมเพื่อเตรียมไฟล์ให้พร้อมในการพิมพ์

ไฟล์งานของลูกค้า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะคิดว่าใช้พิมพ์ได้เลย แต่จากสถิติจริง 97% โรงพิมพ์ต้องนำไฟล์มาแก้ไข

ให้เหมาะกับการผลิต เพราะใช้ไม่ได้ งานชิดขอบจนเกินไป ทำสีผิดโหมด ฟอนต์ไม่ได้ฝัง รูปไม่ได้ฝัง 100%

โรงพิมพ์ต้องเอาไฟล์มาเลย์เพื่อลงเพลทอาจเกิดความผิดพลาดได้

เวลาลูกค้า สั่งงานพิมพ์ โรงพิมพ์ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นใบๆ เล็กๆ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้าสั่งโบรชัวร์ขนาด a4

กระดาษที่โรงพิมพ์ใช้พิมพ์จะใหญ่กว่า a4 4-8 เท่า แล้วค่อยมาตัดรอบด้าน ตัดทีเดียว 1000-2500 ใบ ไม่ได้ตัดทีละใบ

จึงจำเป็นต้องเผื่องานเข้ามาข้างใน เป็น มาตรฐานของอุตสาหกรรมการพิมพ์

อัตราส่วนลูกค้าที่รับปรู๊ฟ


ปรู๊ฟออนไลน์ 65%

ปรู๊ฟดิจิตอล 34.5%

ปรู๊ฟหน้าแท่น 0.4%

ปรู๊ฟจริง 0.01%

2.1 ปรู๊ฟออนไลน์


คือปรู๊ฟให้ลูกค้าเช็คทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด ทางโรงพิมพ์จะพิมพ์งาน"ไม่เพี้ยนจากไฟล์งานของคุณ"

แต่ไม่ใช่จากหน้าจอคุณ เรามีมาตรฐานการเช็คค่าสีไฟล์งาน ฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่า ค่าสีที่คุณใส่ตอนออกแบบงาน

เราสามารถพิมพ์ได้ใกล้เคียง 85-90% เหมือนปรู๊ฟดิจิตอล

ข้อดีของปรู๊ฟออนไลน์

สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ สำหรับงานด่วน และงานไม่ด่วน สีแม่นยำเท่าปรู๊ฟดิจิตอล เป็นที่นิยมที่สุด

ข้อเสียของปรู๊ฟออนไลน์

เรื่องสีไม่สามารถเทียบกับหน้าจอได้ เนื่องจากหน้าจอแสดงผลด้วยแสง Red Green Blue

งานพิมพ์ไม่ได้มีแสงออกมาจากกระดาษ งานที่เราเห็นคือแสงกระทบกระดาษและสะท้อนเข้าตาเรา

แต่ทางโรงพิมพ์มีมาตรฐานการพิมพ์ คือเราพิมพ์ไม่เพี้ยนจากไฟล์งานที่คุณออกแบบ เช่น ตัวหนังสือ

ลูกค้าใส่ค่าสี C20 M30 Y20 K30


2.2 ปรู๊ฟดิจิตอล


ดิจิตอลปรู๊ฟเป็น ปรู๊ฟที่ประหยัดค่าใช้จ่ายให้ลูกค้า ลูกค้ากว่า 34.5% ใช้ปรู๊ฟดิจิตอล

ข้อดีของปรู๊ฟดิจิตอล

ประหยัด และทางโรงพิมพ์แถมให้ 1-2 ครั้งก่อนพิมพ์งานจริง อยู่ที่เนื้องาน

ข้อเสียของปรู๊ฟดิจิตอล

ไม่สามารถดูได้ หากต้องการรับงานด่วน ต้องดูปรู๊ฟออนไลน์ ต้องใช้เวลาในการทำปรู๊ฟ ความใกล้เคียงของสี

ประมาณ 85-90%

2.3 ปรู๊ฟหน้าแท่น


คือการยืนดูสีหน้าแท่นพิมพ์ ความแม่นยำมากที่สุดในการดูสีงานพิมพ์ใช้สำหรับงานที่ซีเรียสจริงๆ งานที่ได้

จะออกมาคุณภาพ 95-97% จากคอนเฟริ์มปรู๊ฟ กระดาษที่ใช้เป็นของจริง และเป็นบล็อคที่ใช้ในงานจริง งานที่ใช้

ตัวอย่างเช่น งานเครื่องสำอางค์ต่างประเทศ งานยาต่างประเทศ งานที่ซีเรียสมากๆ

ปรู๊ฟหน้าแท่นจะต้องทำเพลทก่อน คือการขึ้นพิมพ์จริงนั่นเอง

ข้อดีของปรู๊ฟจริง

งานไม่ผิดไม่เพี้ยน เพราะเช็คได้ทุกอย่างเหมือนการพิมพ์จริงๆเลย

ข้อเสียของปรู๊ฟจริง

ลูกค้าต้องคอนเฟริ์ม การตรวจเช็คแบบก่อน และมัดจำก่อน ทางโรงพิมพ์ถึงจะทำเพลทได้

ลูกค้าต้องคอนเฟริ์มการพิมพ์อีกรอบ หน้าแท่นพิมพ์ ไม่สั่งระงับ หรือถอดเพลท มิฉะนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ในการตั้งเครื่อง

ลูกค้าต้องคอนเฟริ์ม จากการแก้สี แก้งงานภายในไม่เกิน1ชั่วโมงหลังจากปรู๊ฟหน้าแท่นพิมพ์ออกมาแล้ว

ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกงานหน้าแท่นได้ เพราะโรงพิมพ์ ออร์เดอร์กระดาษโดยเฉพาะมาให้แล้ว

-** ลูกค้าต้องมาถึงที่โรงพิมพ์ก่อนเวลานัดงาน เพราะทางโรงพิมพ์มีงานต่อคิวลูกค้าเจ้าอื่นตลอดเวลา **-


2.4 ปรู๊ฟจริง


คือการปรู๊ฟที่ลูกค้าต้องการแม่นยำกว่าดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมแล้ว งานที่ได้ ความใกล้เคียงจะ

85-93 % ปรู๊ฟจริงจะทำเพลทก่อนแล้วใช้เครื่องปรู๊ฟที่เลียนแบบเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทจะได้งานที่ใกล้เคียงเครื่อง

ออฟเซ็ท

ข้อดีของปรู๊ฟจริง


ปรู๊ฟลงบนกระดาษจริงๆ
ปรู๊ฟเลียนแบบงานพิมพ์ ลูกค้าไม่ต้องยืนหน้าแท่น

ข้อเสียของปรู๊ฟจริง


มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งทางโรงพิมพ์จะแจ้งทีหลังว่าเท่าไหร่ เช่น ถ้างานเล็ก ๆ ก็ 1 ชุด ชุดละ 1200 บาท

ต้องใช้เวลาในการปรู๊ฟจริงขึ้นอยู่กับประเภทกระดาษ และความซีเรียสของงาน ลูกค้าต้องคอนเฟริ์ม

การตรวจเช็คแบบก่อน และมัดจำก่อน ทางโรงพิมพ์ถึงจะทำเพลทได้ ลูกค้าต้องคอนเฟริ์มการปรู๊ฟจริงอีกรอบ

ไม่สั่งระงับ หรือแก้ไขงาน มิฉะนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการทำเพลทใหม่และปรู๊ฟใหม่

เรื่องสี

โรงพิมพ์เราเป็นระบบอุตสาหกรรมออฟเซ็ท เครื่องจักรทุกอย่างได้มาตรฐานอุตสาหกรรมการพิมพ์

การพิมพ์ ออฟเซ็ท ยอดสั้น ความใกล้เคียงของสี จากปรู๊ฟหรือจากค่าสีในคอมพิวเตอร์ประมาณ 80-90%

หรือบางงานอาจมากกว่านั้น การพิมพ์ ออฟเซ็ท ยอดยาว ความใกล้เคียงของสี จากปรู๊ฟหรือจากค่าสีใน

คอมพิวเตอร์ประมาณ 85-95% หรือบางงานอาจมากกว่านั้น ลูกค้าจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนสั่งพิมพ์งาน

สรุปเรื่องสี


เรื่องสีเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และไม่ควรยึดติดกับสิ่งเปรียบเทียบ 100%

ข้อแนะนำ

ลูกค้าต้องเข้าใจว่าเรื่องสี ต้องมีการ error ไม่ได้แม่นยำ 100% การที่ลูกค้าจะพรีเซนต์งานพิมพ์ให้ลูกค้า

อีกทีนึง ลูกค้าต้องเข้าใจมาตรฐานงานพิมพ์ก่อน อย่าพรีเซ็นต์ว่าสีจะได้เป๊ะๆ ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างแน่นอน

ลูกค้าต้องอ่านเรื่องสีทั้งหมดแล้วจะเข้าใจเรื่องสีอย่างละเอียด


ปัญหาที่พบบ่อย

******--ลูกค้านำงานตัวอย่างมาให้ และต้องการให้พิมพ์สีเหมือนตัวอย่าง


ปัญหาที่พบได้บ่อยมาก


1. นำงานปริ้นท์เครื่องอิงค์เจ็ทที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่ได้ calibrate มาให้โรงพิมพ์พิมพ์ตาม

ระบบอิงค์เจ็ทเป็นการพิมพ์แบบพ่นหมึกลงหน้ากระดาษ ใช้สีเป็นของเหลวมาก ยกตัวอย่างเช่น

ลูกค้าลองทดสอบนำเครื่องปริ้นท์อิงค์เจ็ทของตัวเองที่ออฟฟิต 2 ยี่ห้อ สามารถพิมพ์ออกมาสีเหมือนกันได้หรือไม่ หรือ

ยี่ห้อเดียวกัน เครื่องนึงใหม่กว่า เครื่องนึงเก่ากว่า หรืออายุเท่ากันใช้ไปซักระยะเวลาหนึ่งสามารถพิมพ์ออกมาสี

และคุณภาพเหมือนกันเป๊ะได้หรือไม่

2. นำงานปริ้นท์เครื่องเลเซอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่ได้calibrate มาให้พิมพ์ตามสี ระบบเลเซอร์

เป็นการพิมพ์แบบเคลือบผงหมึกลงหน้ากระดาษ ใช้สีเป็นผง ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าลองทดสอบนำเครื่องปริ้นท์เลเซอร์

ของตัวเองที่ออฟฟิต 2 ยี่ห้อ สามารถพิมพ์ออกมาสีเหมือนกันได้หรือไม่ หรือ ยี่ห้อเดียวกัน เครื่องนึงใหม่กว่า

เครื่องนึงเก่ากว่า หรืออายุเท่ากันใช้ไปซักระยะเวลาหนึ่ง สามารถพิมพ์ออกมาสีและคุณภาพเหมือนกันเป๊ะได้หรือไม่

หรือลูกค้าลองพิมพ์งานเครื่อง inkjet กับเครื่อง laser แล้วสามารถให้สีออกมาเหมือนกันได้หรือไม่

อยากให้ลูกค้าเข้าใจว่าเราเป็นโรงพิมพ์ ระบบ offset ไม่มีทาง 100% ที่คุณภาพหรือรายละเอียดสีจะเหมือนกันเป๊ะๆ

3. นำงาน offset ที่เคยพิมพ์มาแล้ว หรือไม่ได้มาตรฐาน ให้เราพิมพ์ตาม

เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท ไม่แตกต่างจากเครื่องพิมพ์ inkjet ที่มีหลากหลายยี่ห้อ เพลทก็มีหลายยี่ห้อ

หมึกก็มีหลายหมื่นยี่ห้อเช่นกัน กระดาษมีเป็นล้านชนิด ฯลฯ หรือบางทีเป็นงานพิมพ์ที่พิมพ์สีเพี้ยนมา แล้วให้เราพิมพ์ตาม

4. การปรับสีจากงานพิมพ์อื่นไม่ได้ง่ายดั่งใจนึก ลูกค้าต้องเข้าใจ ว่าหากสิ่งที่ต้องการมีความยืดหยุ่นได้น้อย

ก็จะมีความยากและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามมา

**แต่โรงพิมพ์เราสามารถทำได้ใกล้เคียง เพราะเรามีเครื่อง calibrate สีคุณภาพดี ราคา 4 แสนบาท

ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเพิ่มขึ้น ลูกค้าต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องง่าย

เลยที่จะปรับสีเฉพาะจุด หรือทั้งหน้าให้เหมือนงานของลูกค้า**


-** งานพิมพ์ ไม่สามารถเทียบสีกับเครื่องปริ้นท์ลุกค้าได้เป๊ะๆ **-


-** การจ้าง calibrate สีเครื่องปริ้นท์ เครื่องปริ้นท์ลุกค้าต้องได้คุณภาพ และต้องมีค่าใช้จ่าย 15,000-40,000 บาท

ถึงจะสามารถ calibrate สีได้ และต้อง calibrate สีเป็นประจำ อย่างน้อย ทุกๆ 2 เดือน **-


-** ลูกค้าส่วนใหญ่ 95-98% เข้าใจจุดนี้ และไม่ได้ยึดติดว่าสีต้องเป๊ะๆ **-


******--ลูกค้าต้องการสีเหมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตนเอง


ลูกค้าไม่เข้าใจว่าทำไม สีงานพิมพ์ไม่เหมือนจอคอมพิวเตอร์

****งานพิมพ์ ไม่ได้มีแสงออกมาจากกระดาษ เรื่องสีไม่สามารถเทียบกับหน้าจอได้

เนื่องจากหน้าจอแสดงผลด้วย "แสง" Red Green Blue ผสมผสานกัน งานพิมพ์ ไม่ได้มีแสงออกมาจากกระดาษ

งานที่เราเห็นคือแสงกระทบกระดาษ และสะท้อนเข้าตาเรา เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่สีจะเหมือนกันเป๊ะ

โรงพิมพ์ขอความร่วมมือให้ลูกค้า ต้องเข้าใจมากๆ ในจุดนี้ ไม่ใช่ว่า จะไม่สามารถเหมือนกันเลยซะทีเดียว

ยังมีวิธีที่ลูกค้างานพิมพ์ประจำสามารถทำได้ คือการ calibrate จอของตนเอง ให้ใกล้เคียงกับงานพิมพ์ที่สุด

อาจจะได้ถึง 70% สามารถทำได้ ให้ใกล้เคียงโดยการใช้ตาเปล่า calibrate เอง โดยหาตำรามาศึกษาอย่างละเอียด

หรือการใช้อุปกรณ์ calibrate สีซึ่งมีราคาแพงหลักแสน มา calibrate หน้าจอตนเอง ก็จะได้สีที่ใกล้เคียงขึ้น


-** การจ้าง calibrate สีหน้าจอ หน้าจอลุกค้าต้องได้คุณภาพ และต้องมีค่าใช้จ่าย 15,000-40,000 บาท ถึงจะสามารถ

calibrate สีได้ และต้อง calibrate สีเป็นประจำ อย่างน้อย ทุกๆ 2 เดือน **-

ยกตัวอย่างเคสกรณี ลูกค้าลองเปิดคอมพิวเตอร์ไฟล์ภาพเดียวกัน และเทียบกันทั้งหมด 10 หน้าจอ ต่างยี่ห้อกัน

notebookหรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือยี่ห้อเดียวกัน แต่การแสดงผลภาพคนละรุ่นกันสีหน้าจอ

ยังไม่สามารถเหมือนกันได้เลย บางชนิดแตกต่างกัน มากๆ 80% -100% ก็มี เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลย

ที่จะเทียบกับงานพิมพ์ หากไม่มีจอที่ได้มาตรฐานและมีการ calibrate หน้าจออย่างสม่ำเสมอ

แต่ทางโรงพิมพ์มีมาตรฐานการพิมพ์ คือเราพิมพ์ไม่เพี้ยนจากไฟล์งานที่คุณออกแบบ เช่น ตัวหนังสือลูกค้าใส่ค่าสี

C20 M30 Y20 K30 เปิดจอ 10 จอ สีไม่เหมือนกันเลย แต่ค่าสีงานพิมพ์เราจะใกล้เคียงกับไฟล์งานของท่าน

ฉะนั้นลูกค้าที่เข้าใจ จึงอุ่นใจได้ว่างานพิมพ์ของคุณจะได้มาตรฐานเรื่องสี อย่างแน่นอน

-** เราพิมพ์ตามไฟล์งาน ไม่ได้พิมพ์ตามจอคอมพิวเตอร์ **-

******--สีพื้นมีปัญหา


สีพื้นเป็นสีที่พิมพ์ยากที่สุดในงานพิมพ์ สีพื้น คือ สีเรียบๆ เป็นพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น สีแดงทั้งหน้า สีเทาทั้งหน้า

สีน้ำเงินทั้งหน้า หรือการไล่เฉดสีพื้น จากเทาไปดำ ฟ้าไปน้ำเงิน ฯลฯ



ปัญหาของสีพื้นคือ

1. ความเรียบ

ปัญหาคือ งานที่พิมพ์ออกมาจะไม่ได้เรียบ 100% ยิ่งสีเข้มจะเห็นได้ชัด หากลูกค้าลอง ถ่ายเอกสาร หรือปริ้นท์ laser

จากเครื่องคุณภาพดีๆ ก็จะสามารถพบความไม่เรียบของสีพื้นได้อย่างชัดเจน แต่ระบบออฟเซ็ท

เป็นระบบที่สีพื้นจะเรียบที่สุด ถ้าเทียบกับ เครื่องงปริ้นท์ laser หรือเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งเป็นระบบลูกกลิ้งเหมือนกัน

และไม่มีเครื่องออฟเซ็ทไหนในโลกที่พิมพ์สีพื้นได้เรียบสม่ำเสมอ 100%


2. ร่องรอยต่างๆในงาน


ขึ้นชื่อว่ากระดาษ เป็นวัสดุที่บอบบางอยู่แล้ว และมีความไม่เรียบปะปนอยู่ด้วย จึงเป็นธรรมดา

ที่สีพื้นอาจจะมีจุดเล็กๆหรือรอยขีดข่วนปะปนอยู่บ้าง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงงานออกแบบที่มีสีพื้นเข้มเยอะๆ

3. สีพื้นพับแล้วแตก

ยกตัวอย่างเช่น แผ่นพับ หนังสือ ฯลฯ เป็นธรรมชาติของวัสดุกระดาษที่เป็นวัสดุที่อ่อนแอ

หากลูกค้าออกแบบสีพื้นเข้มๆมาและต้องการพับงานชิ้นนั้น สีพื้นตรงขอบงานคุณต้องแตกเห็นเนื้อกระดาษสีขาวแน่ๆ

ตอนพับงาน

วิธีแก้ปัญหา


1.ถ้าเป็นไปได้ลูกค้า ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบงานสีพื้นแปลนใหญ่ๆ หรือพื้นที่ใหญ่ๆ

2. แผ่นพับควรหลีกเลี่ยงการใส่สีพื้นตรงขอบงานพับ เพราะจะทำให้ขอบแตก

3. เคลือบ พลาสติกที่งานเพื่อลดปัญหา พลาสติกจะช่วยให้แตกน้อยลงมาก แต่แน่นอน

จะมากับค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นหลายเท่าตัว

4. ปั๊มเส้นพับแทนการพับทันที จะสามารถลดรอยแตกได้ และแนะนำว่ากระดาษควรหนาตั้งแต่ 190 แกรมเป็นต้นไป

มิฉะนั้นจะพับได้ไม่ง่ายนักและก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไป


งานในปัจจุบัน

นิยมใช้สีพื้นมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาของงานพิมพ์ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลูกค้า

ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบงานสีพื้นแปลนใหญ่ๆ หรือพื้นที่ใหญ่ๆ

เรื่องงานพิมพ์ ระบบออฟเซ็ท

งานพิมพ์กระดาษ บนโลกที่พบเห็นได้ทุกวันนี้ มาจากโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ทเกิน 75% อุตสาหกรรมการพิมพ์

ออฟเซ็ท เป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด พิมพ์เยอะๆได้จำนวนถูก และได้มาตรฐาน

ความสวยงามที่สุด

โรงพิมพ์เราเป็นระบบอุตสาหกรรมออฟเซ็ท เครื่องจักรทุกอย่างได้มาตรฐานอุตสาหกรรมการพิมพ์

งานพิมพ์ออฟเซ็ทไม่ได้แม่นยำ 100% เหมือนทุกๆอุตสาหกรรมที่ต้องมีความ error แต่เป็นงานที่มีคุณภาพดีมาก

และราคาที่ถูกมาก ๆ

ถ้าเทียบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์แบบอื่นๆ ณ จุดนี้ลูกค้าต้องเข้าใจด้วย ไม่มีอุตสาหกรรมใดๆ แม่นยำ 100%

ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้าปริ้นท์เลเซอร์ หรือปริ้นท์ อิงค์เจ็ทเป็นจำนวนมาก คุณภาพจะเทียบกับงานออกเซ็ทไม่ได้เลย

ฉะนั้นลูกค้าต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงาน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมือนกันทั้งโลก


-งานพิมพ์ออฟเซ็ทไม่ได้แม่นยำ 100% เหมือนทุกๆอุตสาหกรรมที่ต้องมีความ error แต่เป็นงานที่มีคุณภาพดีมาก

และราคาที่ถูกมากๆ ถ้าเทียบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์แบบอื่นๆ ณ จุดนี้ลูกค้าต้องเข้าใจด้วย ไม่มีอุตสาหกรรมใดๆ

แม่นยำ 100%


-เราไม่สามารถทำจุดสำคัญให้อยู่ติดขอบกระดาษได้ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้าสั่งโบรชัวร์ขนาด a4

กระดาษที่โรงพิมพ์ใช้พิมพ์จะใหญ่กว่า a4 4-8 เท่า แล้วค่อยมาตัดรอบด้าน ตัดทีเดียว 1000-2500 ใบ ไม่ได้ตัดทีละใบ

จึงจำเป็นต้องเผื่องานเข้ามาข้างในการตัดงานใบปลิว ตัดทีละ 1000-2500 ใบ ลูกค้าไม่สามารถสั่งให้ตัดทีละใบได้

โรงพิมพ์เหมือนกันทุกโรงพิมพ์ เพราะฉะนั้นตอนออกแบบ ต้องเผื่องานห้ามชิดขอบกระดาษ


-มาตรฐานการเหลื่อมล้ำของรูปเล่มงานพิมพ์ออฟเซ็ทอยู่ที่ 3 มิลลิเมตร ลูกค้าต้องเผื่อไฟล์งานไว้ด้วย สำหรับหนังสือ

ต้อง 1 เซ็นติเมตรรอบด้าน และจากอกหนังสือ 2 เซ็นติเมตร

- เรื่องสี

เรื่องหนังสือ หรือรูปเล่มงาน

เรื่องการเคลือบงาน

การเคลือบที่ใช้บ่อยๆเลยคือ


การเคลือบ UV (การเคลือบมันทั้งใบ) ที่ประหยัดและให้ความเงางามเป็นสารเคลือบบนกระดาษ

คล้ายกับเราเทน้ำยาลงหน้ากระดาษ แล้วปาดน้ำยาให้เรียบ แล้วอบให้แห้ง ช่วยเรื่องความเงางาม

กันน้ำได้ระดับหนึ่ง


การเคลือบ PVC ใส เป็นการเคลือบพลาสติก PVCบนเนื้อกระดาษ ให้ความมันเทียบเท่า การเคลือบ UV

และเงากว่า ทนทาน กันน้ำได้เยอะ แต่ราคาจะแพงกว่า

การเคลือบ PVC ด้าน เป็นการเคลือบผิว (Coating) การเคลือบผิวมีหลายวิธีเช่นการเคลือบวาร์นิช วาร์นิชด้าน

วาร์นิชแบบใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (water based varnish) การเคลือบยูวี การเคลือบพีวีซีเงา พีวีซีด้าน

การเคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV)

การเคลือบวาร์นิชจะให้ความเงาน้อยที่สุดในขณะที่การเคลือบพีวีซีเงาจะให้ความเงามากที่สุด

การเตรียมไฟล์ก่อนพิมพ์

ในการสั่งพิมพ์งานกับทางโรงพิมพ์นั้น ลูกค้าควรจัดเตรียมไฟล์งานให้เรียบร้อย เพื่อให้ทางโรงพิมพ์

สามารถนำงานของลูกค้าเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ได้เลย ดังนั้นการที่ลูกค้าเตรียมไฟล์มาดี ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย

ที่จะทำให้งานพิมพ์ออกรวดเร็ว และสวยอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับไฟล์งานของลูกค้านั่นเอง

Save Zone คือ พื้นที่ที่มั่นใจได้ว่า เมื่อนำชิ้นงานไปพิมพ์แล้วจะไม่มีส่วนที่หายไป ดังนั้น ควรเว้นระยะ Save

Zoneเข้ามา เพื่อไม่ให้ตัวหนังสือ ถูกตัดขาด

bleed คือ ระยะตัดตก ซึ่งทางโรงพิมพ์จะต้องเผื่องานจากขนาดของงานจริง เพราะ ทางโรงพิมพ์

ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการตัดชิ้นงาน ออกมาตามขนาดของลูกค้า ดังนั้นลูกค้าควรเผื่อระยะ ตัดตก

โดยเพิ่มขนาดจากงานจริง

ซึ่งการจัดเตรียมไฟล์งานนั้นสามารถทำได้ดังนี้

1. ลูกค้าควรเช็ค ความคมชัด ของงาน โดย ความคมชัดที่แนะนำคือ Resolution 300

2. ลูกค้า ควรปรับชิ้นงานของตน ให้เป็น โหมด CMYK ซึ่งเป็น โหมดสีสำหรับงานพิมพ์โดยเฉพาะ

3. ลูกค้า ควรวางตัวหนังสือ หรือ รูปภาพที่สำคัญ ๆ ไว้ใน Save Zone

ซึ่ง Save Zone คือ บริเวณที่อยู่ในเส้นประสีเขียว(ดูภาพด้านบน) เป็นพื้นที่ที่มั่นใจได้ว่าเมื่อนำชิ้นงานไปพิมพ์

แล้วจะไม่มีส่วนที่หายไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

ใบปลิว Save Zone : 3 mm รอบด้าน

หนังสือมุงหลังคา : 8 mm รอบด้าน

หนังสือใสกาว : 5 mm รอบด้าน ยกเว้น ฝั่งเข้าสัน 1.2 cm

4. ลูกค้าควรเผื่อระยะ ตัดตก (bleed) จากงานของลูกค้า โดยขยายพื้นหลังของลูกค้าออกมา

สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการงานที่เป็นขอบขาว โดยมีรายละเอียดดังนี้

ใบปลิว ตัดตก : 2 mm รอบด้าน

หนังสือ : 3 mm รอบด้าน

เรื่อง สติ๊กเกอร์

สติ๊กเกอร์ใส

สติกเกอร์ใส บนวัตถุสีขาว
สติกเกอร์ใส เมื่อ ลอกออกมา
แปะสติกเกอร์ใส บนวัตถุสีเขียว

สติ๊กเกอร์ใส จะมีคุณสมบัติ โปร่งแสง เมือนำไปติด สีของสติกเกอร์ จะเปลี่ยนไปตามสีของพื้นหลังเล็กน้อย

การปูพื้นขาว จะช่วยลดความโปรงแสงของสติกเกอร์ได้ ประมาณ 50%